
“ข่ายงานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” ๑๖ แห่ง
ผนึกกำลัง สร้างความเข้มแข็งด้านการให้บริการ
สมาชิกข่ายงานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ”๑๖ หน่วยงาน จัดประชุมข่ายงานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ครั้งที่ 2/2560 เพื่อสร้างข่ายงานความร่วมมือพัฒนาการให้บริการห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
วันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๖๐ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๒.๐๐ น. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุขชัย เจริญไวยเจตน์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ให้เกียรติเป็นประธานและให้การต้อนรับ คณะกรรมการฝ่ายบริการข่ายงานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ ห้องประชุมยุทธศาสตร์ ชั้น ๒ อาคารปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พื้นที่ นามน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุขชัย เจริญไวยเจตน์ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ยินดีต้อนรับและยินดีให้ความร่วมมือกับเครือข่ายทุกๆมหาวิทยาลัย จริงแล้วภารกิจของเครือข่ายห้องสมุดมีความสำคัญในการที่จะใช้ทรัพยากรร่วมกัน จากการรายงานจะเห็นได้ว่ามีข้อตกลงร่วมกันที่จะใช้ทรัพยากรร่วมกันในเครือข่ายหรือที่เราเรียกว่า (ISAN University Library Network : ISANULINET)
นางรุ่งเรือง สิทธิจันทร์ รองผู้อำนวยการฝ่ายบริการสารสนเทศและประกันคุณภาพสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้กล่าวว่า ข่ายงานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดตั้งขึ้นในโครงการจัดตั้งข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๘ ภายใต้แนวคิดการใช้ทรัพยากรสารสนเทศร่วมกันและช่วยเหลือกันในด้านการดำเนินงานห้องสมุดในภาคอีสาน โดย สำนักงานวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้เชิญผู้บริหารหรือตัวแทนห้องสมุดมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏ และมหาวิทยาลัยสงฆ์ ในภาคอีสาน เข้าร่วมประชุม เพื่อร่วมกันจัดตั้งข่ายงาน ซึ่งทุกห้องสมุดยินดีเข้าร่วมข่ายงานฯ และร่วมกันดำเนินงานมาจนปัจจุบันรวมเวลา ๓ ปีเศษ โครงการจัดตั้งข่ายงานฯมีวัตถุประสงค์ดังนี้ เพื่อสร้างข่ายงานความร่วมมือพัฒนาการให้บริการของห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และยังสนับสนุนให้มีการใช้ทรัพยากรร่วมกัน (การยืมระหว่างห้องสมุดเครือข่าย) เพื่อให้นิสิต นักศึกษา และคณาจารย์ของทุกมหาวิทยาลัยที่อยู่ในเครือข่ายได้ใช้ทรัพยากรประกอบการเรียน การสอน ที่ครอบคลุมและหลากหลายให้ตรงตามความต้องการมากขึ้น
ซึ่งปัจจุบันมีสมาชิกในข่ายงานรวมทั้งสิ้น ๑๖ ห้องสมุด ๑๖ สถาบัน ประกอบด้วย
๑.๑ กลุ่มงานวิทยบริการ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
๑.๒ สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยนครพนม
๑.๓ สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
๑.๔ สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
๑.๕ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
๑.๖ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
๑.๗ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
๑.๘ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
๑.๙ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
๑.๑๐ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
๑.๑๑ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
๑.๑๒ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
๑.๑๓ ศูนย์วิทยบริการมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
๑.๑๔ กลุ่มงานวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีษะเกษ
๑.๑๕ ห้องสมุดมหาวิทยาลัยมหามงกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน
๑.๑๖ หน่วยวิทยบริการมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัยวิทยาเขตนครราชสีมา
โดย ข่ายงานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แบ่งคณะกรรมการออกเป็น ๕ ฝ่าย ดังนี้
๑.๑ คณะกรรมการอำนวยการ
๑.๒ คณะกรรมการฝ่ายบริการ
๑.๓ คณะกรรมการฝ่ายประกันคุณภาพการศึกษาและการจัดการความรู้
๑.๔ คณะกรรมการฝ่ายสารสนเทศท้องถิ่น
๑.๕ คณะกรรมการฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ
ทั้งนี้ผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน ๒๗ คน ๑๑ ห้องสมุด กลุ่มงานวิทยบริการมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ได้นำความรู้ที่ได้รับจากการประชุมมาประยุกต์ใช้เพื่อเป็นการส่งเสริมการใช้ทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดของมหาวิทยาลัย จะเห็นได้จากสถิติการเข้าห้องสมุดและสถิติการยืม-คืนที่มีจำนวนเพิ่มขึ้น และกลุ่มงานวิทยบริการจะปรับปรุงและส่งเสริมเป็นแหล่งวิชาการของมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ต่อไป
วินัย ชุ่มอภัย : ข่าว
วีรพล คำสุวรรณ : ภาพ/ปกข่าว